ชำแหละ! กฎหมายตั้งเมืองเทวดา ที่ประชุมเห็นร่วม “รับไม่ได้” รวบอำนาจเบ็ดเสร็จทั้งหมดที่ไว้เขตเศรษฐกิจพิเศษ แล้วกำหนดเขต “กฎหมายห้ามเข้า” บรรเจิดชี้ เมืองเทวดาขัดรัฐธรรมนูญ ขัดหลักประชาธิปไตย ขัดหลักการจัดองค์กรที่ดี ส่อแววการปฏิวัติ
ข่าวการสัมมนาโต๊ะกลม “ชำแหละร่างพรบเขตเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ….” ที่วุฒิสภา วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ ชำแหละ! เขตเศรษฐกิจพิเศษ รวบอำนาจ ห้ามกฎหมายเข้า |
||||||
ร่วมชำแหละกฎหมายตั้งเมืองเทวดา ที่ประชุมเห็นร่วม “รับไม่ได้” จากงานสัมมนาโต๊ะกลมเรื่อง ชำแหละร่างพรบ.เขตเศรษฐกิจพิเศษ ที่วุฒิสภา ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่าในสมัยปี ๑๙๓๐ ประเทศเยอรมันซึ่งเดิมเป็นมลรัฐ พอเข้าสู่สมัยของฮิตเลอร์ ระบบการปกครองเปลี่ยนเป็นรวมศูนย์อำนาจไว้ที่พรรคนาซี และออกกฎหมายให้อำนาจทั้งหมดอยู่ในมือของฮิตเลอร์แต่เพียงผู้เดียว ท้ายสุด กฎหมายฉบับนี้นำไปสู่การล่มสลายของประเทศเยอรมัน และสงครามโลกในเวลาต่อมา ซึ่งหากพิจารณาจากร่างกฎหมายฉบับนี้เชื่อมโยงกับมาตรา ๑๐ ของร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ที่แก้ไขให้นายกรัฐมนตรี มีอำนาจบริหารรับผิดชอบแทนคณะรัฐมนตรีทั้งหมดได้ เนื้อหาลักษณะนี้ เชื่อมต่อกับร่างพรบ.เขตเศรษฐกิจพิเศษ ที่สร้างระบบเผด็จการรัฐสภา โดยรวบอำนาจไว้ที่คนเพียงคนเดียว ดร.บรรเจิดกล่าวถึงมุมมองที่มีต่อกฎหมายฉบับนี้ไว้ ๔ ประเด็น คือ ซึ่งอรทัย ก๊กผล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวไว้ว่า กฎหมายดังกล่าวให้อำนาจหน้าที่อยู่ในความดูแลของเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยยกเว้นอำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งไม่เข้าใจว่า เมื่อจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษแล้ว องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะยังคงมีบทบาทใด “นี่คือเทคนิคในการร่างกฎหมายของผู้มีกระบวนยุทธ เพราะหากจะยกเลิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะกระทบต่อความรู้สึกและทำได้ยาก จึงเขียนกฎหมายให้ยังคงองค์กรไว้ แต่ไม่ให้มีอำนาจใดๆ แทน” นายบรรเจิดกล่าว ทั้งนี้ ดร.อรทัย ก๊กผล กล่าวว่า ร่างพรบ.ดังกล่าวสวนทางกับทิศทางของรัฐธรรมนูญ ที่เน้นการกระจายอำนาจไปสู่ประชาชนโดยเพิ่มอำนาจไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มากขึ้น แต่ร่างกฎหมายฉบับนี้ กลับลดทอนอำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการท้องถิ่นเอง ประเด็นที่สอง กฎหมายดังกล่าวขัดต่อหลักประชาธิปไตย ในหลักการสำคัญของระบอบประชาธิปไตย ซึ่งมีหลักว่า ประเด็นที่สาม ขัดต่อหลักการจัดองค์กรที่ดี คณะกรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ ให้อำนาจสูงสุดเบ็ดเสร็จแก่ ประธาน ซึ่งคือนายกรัฐมนตรี แต่เพียงผู้เดียว นอกจากนี้ ยังขัดต่อหลักการจัดการที่ดี เพราะไม่มีการคุ้มครองสิทธิ และไม่มีการถ่วงดุลตรวจสอบใดๆ ประเด็นสุดท้าย คือ ร่างกฎหมายดังกล่าว ถือเป็นการปฏิวัติเงียบ เพราะกำหนดเขตกฎหมายห้ามเข้า แล้วยังรวบอำนาจเบ็ดเสร็จไว้ที่คนเพียงคนเดียว หรือกลุ่มเดียว ทั้งอำนาจในการตรากฎหมาย บังคับใช้กฎหมาย และอำนาจตัดสินทางตุลาการ รวมทั้งบังคับคดี ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ ผอ.โครงการนโยบายยุทธศาสตร์ฐานทรัพยากร แสดงความเป็นห่วงต่อปัญหาใหญ่ที่ปรากฏในร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ว่า เรื่องการได้มาซึ่งที่ดินของเขตเศรษฐกิจ เป็นที่น่าตกใจว่า ที่ดินทุกพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นที่ดินของราชการ ของเอกชน คลอบคลุมไปถึงที่ธรณีสงฆ์ สามารถอยู่ภายใต้เขตเศรษฐกิจพิเศษได้ และคำถามใหญ่คือ คนที่อยู่เดิมในพื้นที่ ก่อนจะมีการประกาศจัดตั้งเป็นเขตเศรษฐกิจจะทำอย่างไร ซึ่งในกฎหมายฉบับนี้ระบุทำนองว่า เขตเศรษฐกิจพิเศษมีอำนาจเข้ารื้อถอนได้ ในส่วนของผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ อ. เดชรัตน์ สุขกำเนิด คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ชี้ว่า โดยปกติ การจัดทำโครงการใดๆ ต้องมีการศึกษาถึงจุดวิเคราะห์ทางยุทธศาสตร์ที่จะกระทบต่อพื้นที่ ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ยิ่งกว่าการทำอีไอเอ แต่ในตัวร่างนี้ ไม่กำหนดอะไรเลย เพียงให้เขตเศรษฐกิจพิเศษ ศึกษาความเป็นไปได้และผลประโยชน์ ทั้งที่เรื่องเหล่านี้ ต้องมีกระบวนการพิจารณาด้านกฎหมายตั้งแต่ขั้นตอนก่อนที่จะจัดตั้งเขตเศรษฐกิจ นายเจริญ คัมภีรภาพ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า สิ่งเหล่านี้มันเกิดขึ้นมาแล้วและพยายามผลักดันในกระบวนการเจรจาการค้าเสรีแบบทวิภาคี (เอฟทีเอ) แต่เหตุใดที่เอฟทีเอยังไม่ทันเริ่ม ก็ร่างกฎหมายฉบับนี้ออกมา นายสัก กอแสงเรือง สมาชิกวุฒิสภา กล่าวว่า แม้หลักการอันเป็นที่มาของกฎหมายฉบับนี้ กล่าวอ้างไว้ว่า “ที่ว่าศึกษาจากประเทศต่างๆ นั้นไม่ใช่บทเรียน แต่เป็นเพียงวิธีการ ว่าเขาทำอย่างไร แต่ไม่ได้ดูถึงผลกระทบ มีเพียงทีบอกว่าได้ผลดีคือที่เสิ่นเจิ้น ประเทศจีน แต่ก็คือผลดีเรื่องเศรษฐกิจขยายตัว ไม่ได้พูดเลยว่าผลกระทบที่เกิดกับคนที่นั่นเป็นยังไง” ผศ.ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ จากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าว ด้านผลกระทบต่อมนุษย์นั้น นายพิชญ์ พงศ์สวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การใช้อำนาจรัฐในการจัดการพื้นที่มีมานานแล้ว แต่ทำไมจึงต้องออกร่างพรบ. ฉบับนี้ออกมา และงานวิจัยนี้อยู่บนฐานอ้างอิงของเอกชน ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ มีหลักคิดที่มุ่งเน้นเรื่องประสิทธิภาพทางภาคธุรกิจ มากกว่าผลกระทบต่อชุมชน และเนื้อหาในกฎหมายที่เปิดให้คนต่างด้าวเข้ามาทำงาน ไม่ตอบคำถามว่าความเป็นมนุษย์จะได้รับการดูแลอย่างไร เพราะขณะที่ยอมให้ไม่ใช้การแบ่งเขตแดนในการทำโครงการ แต่กลับจัดการคนกลุ่มหนึ่งไม่ให้เคลื่อนย้ายพื้นที่ ยอมให้เงินไหลเร็วแต่กลับมีมาตรการกีดกันไม่ให้คนเคลื่อนไปมา ทั้งนี้ ขั้นตอนของร่างกฎหมายนี้เพิ่งผ่านมติคณะรัฐมนตรีไปเมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม ๔๘ อยู่ในขั้นการตรวจสอบของกฤษฎีกา ซึ่งปรากฏว่าบุคคลที่ทำหน้าที่ตรวจ มีคนสองคนซึ่งก็เป็นคณะวิจัยที่ร่างกฎหมายนี้ขึ้น และหนึ่งในนั้นคือ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ นายสักกล่าวว่า การที่กฎหมายฉบับนี้ผ่านมติครม.เมื่อวันที่ ๑๑ มกราคมที่ผ่านมา น่าจะบ่งบอกถึงนัยยะในการประกาศนโยบายต่อประชาชนผ่านการเลือกตั้ง ซึ่งหากได้รับเลือกแล้วก็จะเหมารวมว่า เสียงของประชาชน ๑๑ ล้านคนเลือกมา ดร.บรรเจิดกล่าวว่า กฎหมายฉบับนี้ ยกเว้นหลักนิติรัฐ (รัฐที่มีกลไกกฎหมายที่ออกโดยรัฐสภา ใช้ในการบริหารจัดการประเทศ) ซึ่งเป็นทิศทางการปฏิรูปการเมืองตั้งแต่ปี ๒๕๔๐ อย่างไรก็ดี เนื้อหาในกฎหมายที่ปรากฏ เป็นเพียงอาการของโรค นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ ประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ วุฒิสภา ทั้งนี้ นพ.นิรันดร์ กล่าวว่า |
Be the first to comment on "ข่าวการสัมมนาโต๊ะกลม ชำแหละร่างพรบเขตเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ…."